You are here >> Home >> ความเชี่ยวชาญของบริษัทฯ >> การสำรวจความพึงพอใจของบุคลากร |
การสำรวจความพึงพอใจของบุคลากร |
|
การสำรวจความพึงพอใจของคนในองค์กรเป็นประเด็นหัวข้อทางการบริหารจัดการที่เป็นที่กล่าวถึงกันอย่างแพร่หลาย และมีความสำคัญอย่างมากในองค์กรที่ต้องแข่งขันเพื่อรักษาทรัพยากรบุคคลผู้มีความสามารถและประสบการณ์เอาไว้ หรือต้องการวัดระดับขวัญกำลังใจของบุคลากรเพื่อกำหนดแผนดำเนินการที่เหมาะสมอันจะช่วยรักษาระดับผลงานของบุคคลและองค์กรไว้ทั้งก่อนและหลังการปรับเปลี่ยนครั้งสำคัญ เช่น การควบรวมกิจการ การลดขนาดองค์กร การปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กรเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนไป เป็นต้น ประโยชน์ของการสำรวจความพึงพอใจมีหลากหลายประการ อาทิ ช่วยให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องเพื่อประกอบการตัดสินใจปรับปรุงพัฒนาผลงานและประสิทธิภาพของงาน ได้ข้อมูลที่แสดงระดับความมุ่งมั่นตั้งใจในงาน ความเหมาะสมของรางวัลตอบแทนแก่พนักงานทั้งที่จ่ายเป็นตัวเงินและรูปแบบอื่นๆ ภาพลักษณ์ขององค์กร ตลอดจนสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้าในแง่มุมต่างๆทางด้านการบริหารจัดการในองค์กรที่ให้ความสำคัญแก่ทรัพยากรบุคคล ฯลฯ
ทฤษฎีหลากหลายที่มีอยู่ว่าด้วยความต้องการจำเป็น แรงบันดาลใจ และความพึงพอใจของมนุษย์นั้นอาจเป็นกรอบความคิดตั้งต้นในเรื่องการสำรวจความพึงพอใจของคนในองค์กรได้ในระดับหนึ่ง แต่ความพึงพอใจดังกล่าวจะมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับผลงานของบุคลากรหรือไม่เพียงใดเป็นเรื่องที่ควรได้รับการศึกษาวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบยืนยันให้แน่ชัด โดยที่การสำรวจความพึงพอใจอาจนำไปใช้ประโยชน์ได้นานาประการ จึงควรดำเนินการและวัดผลอย่างรอบคอบถี่ถ้วน การสำรวจที่ดำเนินการอย่างดีควรจะสามารถระบุปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของคนในองค์กร เช่น ทัศนะของบุคลากรต่อกิจกรรมที่องค์กรได้ดำเนินการไป ความพึงพอใจในองค์กรและความเชื่อมโยงกับผลงาน ฯลฯ โดยอย่างน้อยควรสามารถตอบโจทย์สำคัญที่ว่า ‘อะไรทำให้คนกระตือรือร้นอยากทำงานให้ดีขึ้น’ ซึ่งต่างองค์กรก็จะได้รับคำตอบแตกต่างกันไปตามบริบทเฉพาะขององค์กรนั้นๆ
การสำรวจความพึงพอใจของคนในองค์กรควรมีการดำเนินการโดยสม่ำเสมอเพื่อตรวจสอบว่า กิจกรรมที่ได้วางแผนและดำเนินการไปก่อนหน้านี้ให้ผลลัพธ์ตามที่คาดหมายไว้ อาทิ ในการเสริมความพึงพอใจในหมู่คนทำงานอันนำไปสู่ขวัญกำลังใจและผลงานที่ดีขึ้นได้จริงหรือไม่ อีกทั้งมีสิ่งใดควรดำเนินการเพิ่มเติมอีกหรือไม่ การสำรวจนี้จะให้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้นหากดำเนินการโดยใช้กรรมวิธ๊และเครื่องมือทางการบริหารจัดการอื่นๆ อาทิ การนำสถิติผลงาน การสัมภาษณ์เจาะประเด็นแบบเฉพาะกลุ่ม ฯลฯ มาใช้ประกอบด้วย
องค์กรทั้งหลายไม่ควรตกเป็นเหยื่อของเครื่องมือราคาถูกที่เพียงแสดงผลการสำรวจและเสนอแนะรายการกิจกรรมต่างๆที่ ‘ทำก็ดี ไม่ทำก็ได้’ แต่มิใช่สิ่งที่จำเป็นต้องดำเนินการเนื่องจากมิได้ส่งผลเชื่อมโยงต่อผลงานของคนในองค์กรโดยตรง หากผลการศึกษาวิจัยของเฟดเดอริค เฮอร์สเบอร์กระบุไว้ถูกต้องว่า ผู้คนมักจะแสดงความไม่พึงพอใจต่อแง่มุมต่างๆซึ่งไม่ส่งผลต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานโดยตรง แต่อาจนิ่งเฉยไม่แสดงความคิดเห็นต่อแง่มุมซึ่งส่งผลต่อขวัญกำลังใจและผลงานโดยตรงแล้ว การถามให้ ‘ถูกประเด็น’ และ ‘ถูกวิธี’ ก็มีความสำคัญอย่างยิ่งในการชี้ทิศทางให้องค์กรใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดไปดำเนินกิจกรรมที่จะเกิดประโยชน์ต่อขวัญกำลังใจและผลงานของบุคลากรได้อย่างมีประสิทธิภาพเต็มที่
PeoplePoll* - โมเดลการสำรวจความพึงพอใจของคนในองค์กรโดย Signature Solutions
|
|

|
|
PeoplePoll* ประกอบด้วยกรอบความคิด กรรมวิธี และเครื่องมือที่มุ่งตอบโจทย์ขององค์กรในเรื่องการสำรวจความพีงพอใจบุคลากรในประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้
- ระดับความพึงพอใจในงานและในองค์กรของบุคลากรโดยรวมเป็นอย่างไร
- ปัจจัยใดที่ส่งผลต่อความพีงพอใจในงานและในองค์กร อีกทั้งระดับความพึงพอใจต่อองค์ประกอบย่อยที่นำไปสู่ปัจจัยเหล่านี้มีอะไรบ้าง
- บุคลากรกลุ่มใดพึงพอใจ/ไม่พึงพอใจต่อองค์ประกอบย่อยรายการใดบ้าง
- ปัจจัยใดก่อให้เกิดความพึงพอใจ/ไม่พึงพอใจในองค์ประกอบย่อยรายการใด และมากน้อยเพียงใด
- ปัจจัยใดสามารถทดแทน ชดเชย หรือส่งเสริมสนับสนุนปัจจัยใดได้บ้าง และองค์กรจะนำความรู้ความเข้าใจนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไร
|
|
PeoplePoll* - คุณลักษณะที่โดดเด่น
|
ชี้เฉพาะประเด็น/ปัญหาสำคัญที่ควรให้ความสนใจอย่างแท้จริง เพื่อมิให้องค์กรต้องเสียเวลาและทรัพยากรไปดำเนินการในเรื่องปลีกย่อยที่ไม่ส่งผลต่อขวัญกำลังใจและผลงานของบุคลากรโดยตรง |
|
ระบุกลุ่มเป้าหมายอย่างเฉพาะเจาะจง เพื่อมิให้องค์กรต้องดำเนินกิจกรรมปรับปรุงแก้ไขด้วยวิธี ‘ครอบจักรวาล’ ที่อาจเป็นที่พึงพอใจของบุคลากรบางกลุ่ม แต่สร้างความไม่พึงพอใจให้แก่บุคลากรอีกจำนวนมากในองค์กร |
|
เสนอแนะแนวทางและวิธีการปรับปรุงพัฒนาความพึงพอใจในงานและในองค์กรที่สามารถนำไปปฏิบัติให้ได้ผลจริง อีกทั้งสามารถเสนอแนะวิธีบูรณาการให้เข้ากับแผนงานและกิจกรรมการปรับปรุงพัฒนาอื่นๆที่องค์กรดำเนินการอยู่ |
|
รายงานผลการสำรวจเป็นคะแนนมาตรฐานที่ใช้เปรียบเทียบกับผลการสำรวจครั้งต่อๆไปได้ เพื่อวัดประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกิจกรรมการปรับปรุงพัฒนาความพึงพอใจบุคลากรที่ได้ดำเนินการไปแล้ว |
|
องค์กรที่สำรวจความพึงพอใจของบุคลากรโดยใช้ PeoplePoll* อย่างเต็มรูปแบบจะได้รับประโยชน์ครบถ้วนด้วยรายการกิจกรรมดังต่อไปนี้
- การประชุมชี้แจงเพื่อสร้างความเข้าใจแก่ผู้บริหารและพนักงานเรื่องกรอบแนวคิดและวิธีดำเนินการสำรวจความพึงพอใจของบุคลากร
- แบบสำรวจความพึงพอใจบุคลากรสำหรับใช้ในกลุ่มประชากรเป้าหมาย
- รายงานผลการสำรวจความพึงพอใจของบุคลากร พร้อมบทวิเคราะห์และข้อเสนอแนะ
- การประชุมชี้แจงผลการสำรวจความพึงพอใจของบุคลากรต่อคณะผู้บริหารขององค์กร พร้อมการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงพัฒนาต่อไป
|
หมายเหตุ: *อยู่ในระหว่างการยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า |